ภูมิหลัง
ตอนปรมาจารย์ตั๊กม้อสิ้นอยากกลับสู่ตะวันตก แต่ฮ่องเต้ในสมัยนั้นไม่ยอม ลูกศิษย์ท่านต้องการปกป้องพระอัฐิของท่าน จึงฝังพระอัฐิของปรมาจารย์ไว้ที่ที่แห่งแรกบนแผ่นดินตงง้วนที่ปรมาจารย์มาเยือน เหล่าลูกศิษย์ต้องการปกป้องปรมาจารย์ จึงตั้งสำนักขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อสำนักว่าสำนักตั๊กม้อ ปรมาจารย์ตั๊กม้อเป็นปรมาจารย์สำนักธรรม สำนักตั๊กม้อจึงยกธรรมะเป็นรากฐาน ลูกศิษย์ตั๊กม้อส่วนใหญ่ฝึกฝนอย่างเงียบๆ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก แต่หากมีคนตั้งใจหาเรื่อง ก็จะทำการลงโทษตามกฎของตนเช่นกัน สำนักตั๊กม้อเน้นว่าอรหันต์เกิดที่ใจ ใจคิดได้จะสำเร็จอรหันต์ ผู้มีวาสนาต้องสำเร็จอรหันต์แน่นอน หากไร้วาสนาแม้จะละเว้นความชั่วก็ไม่อาจทำอะไรได้ มิสู้ส่งเขาไปสู่สุคติ สำนักตั๊กม้อ เป็นสำนักธรรมอันดับ1
สำนักที่เกี่ยวข้อง: เส้าหลิน
สำนักตั๊กม้อและวัดเส้าหลินมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน สมัยก่อนปรมาจารย์ตั๊กม้อมาเผยแผ่ตงง้วน ลูกศิษย์ก่อตั้งเส้าหลินขึ้น นับแต่นั้นเส้าหลินก็ได้รับการกราบไหว้จากชาวโลกในความเป็นพุทธศาสนาที่แท้จริง แม้เส้าหลินจะโด่งดังในแง่ของวรยุทธ์ แต่ด้านวิชาธรรมนั้นก็รู้ตัวเองว่าสู้สำนักตั๊กม้อไม่ได้ ทว่าเจ้าอาวาสแต่ละรุ่นของเส้าหลินล้วนดื้อรั้น ไม่ยอมให้บารมีเส้าหลินด้อยกว่าสำนักตั๊กม้อ จึงไม่ยอมติดต่อคบหาด้วย มีน้อยคนที่รู้ว่าเจ้าอาวาสเส้าหลินคนปัจจุบัน-ไต้ซือเสียนหวายสมัยยังหนุ่มนั้นมีปณิธานที่ยิ่งใหญ่ ไม่อยากให้พุทธศาสนาในตงง้วนแบ่งเป็นสอง จึงบอกลาอาจารย์ไปบำเพ็ญโลกภายนอก โดยเดินทางไปทิศตะวันตก หลังผ่านอุปสรรคมากมาย ในที่สุดก็เข้าสำนักตั๊กม้อสำเร็จ ตั้งใจศึกษาธรรมะ และคิดเป็นคนกลางสะสางความแค้นระหว่างสองสำนัก เมื่อเขาสำเร็จวิชาธรรมและกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเส้าหลิน ก็เริ่มเริ่มสานความสัมพันธ์ของทั้งสองสำนัก ด้วยความพยายามของเขา ในที่สุดหลวงจีนระดับสูงในสำนักตั๊กม้อก็เริ่มเห็นชอบ ความสัมพันธ์ของทั้งสองสำนักเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดี